วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

วิบัติแล้วภาษาไทย



การใช้ภาษาไทยวิบัติ

         ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการดัดแปลง และไม่ตรงกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่าภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย และการใช้คำศัพท์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในพจนานุกรมหรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากคำเดิม
  

          ในปัจจุบันเด็กไทยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชาภาษาไทยน้อยลง แต่จะไปให้ความสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เห็นได้จากคะแนนวิชาภาษาไทยในการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าวิชาอื่นๆจนน่าใจหาย จากข้อมูลเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

          ขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่คำว่าภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะอาชีพที่เป็นศัพท์สแลงคำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี มีความหมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย ขณะที่คำว่า "อุบัติ" เป็นภาษาบาลีเช่นกันมีความหมายว่า "เกิดขึ้น"

 ที่มาของภาษาไทยวิบัติ

          ภาษาวิบัติ เป็นภาษาที่นิยมใช้ในหมู่วัยรุ่นปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากการส่งเอสเอมเอสหรือข้อความสั้นๆ การส่งอีเมล์ การสนทนาออนไลน์(เอมเอสเอน) หรือการแสดงความคิดเห็นในโลกอินเตอร์เน็ต จนเดี๋ยวนี้ภาษาวิบัติถูกใช้อย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นภาษาทาง การของวัยรุ่นไปซะแล้ว โดยไม่ได้รู้เลยว่า ต้นกำเนิดของภาษาไทยวิบัติ ว่าที่จริงแล้วเริ่มต้นมาจากการต่อรองค่าตัวของ “โสเภณี

          ในสมัยที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังมีการซื้อขายบริการทางเพศอย่างเสรีในเว็บไซต์ จะมีการพูดคุยกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งเป็นที่รู้กัน ว่าส่วนมากผู้ที่ทำอาชีพนี้ มักจะมีการศึกษาต่ำและวิถีชีวิตที่แร้นแค้น ( คือหมดหนทางในการทำมาหากินแล้ว ) จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พวกเธอจะสะกดคำบางคำได้ไม่ถูกต้อง เช่นคำว่า ก็ สะกดเป็นคำว่า ก้อ คำว่า เป็น สะกด เป็น คำว่า เปน คำว่า จริง สะกดเป็นคำว่า จิง เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด ภาษาไทยวิบัติที่ใช้ในหมู่ผู้ซื้อ-ขายบริการทางเพศจึงได้แพร่หลายในหมู่วัยรุ่น สังคมออนไลน์ และมีการนำไปใช้ในหนังสือหลายประเภทอย่าง ผิดๆ ทั้งที่หลายคนก็มีปัญญาความรู้และการศึกษาที่ดีพอที่จะแยกแยะได้ว่าอะไรคือ ผิดอะไรคือ ถูก


 

 ลักษณะของภาษาไทยวิบัติ  อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้
  
๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย  เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์  เช่น

                 สนุ้กเกอร์ → สนุ๊กเกอร์

                 โน้ต → โน๊ต



๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น

                             หนู นู๋
                             ผม  ป๋ม
                            ใช่ไหม  ชิมิ
                             เป็น  เปง
                             ก็  ก้อ
                             ค่ะ,ครับ  คร่ะ,คับ
                             เสร็จ  เสด
                             จริง  จิง
                             เปล่า  ปล่าว,ป่าว,เป่า

๓. การลดรูปคำ  เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลงมีใช้ในภาษาพูด  เช่น
                      
                        มหาวิทยาลัย  มหาลัย ,มหาลัย
                       โรงพยาบาล  โรงบาล
๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน  เช่น

                       ใช่ไหม  ใช่มั้ย

๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์  เช่น
                  
                      ไม่  ม่าย
                      ไปไหน  ปายหนาย
                      นะ  น้า
                      ค่ะ,ครับ คร่า,คร๊าบ
                      จ้ะ  จร้า

               นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน
  
๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
          เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง 
  ตะเอง



๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย

          ๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง

                   รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม
 
                   เธอ  เทอ
                   ใจ  จัย
                   ไง  งัย
                   กรรม  กำ    

      ๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์
                
                  กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกดShift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น
                 รู้  รุ้
                 เห็น  เหน
                 เป็น   เปน


          ๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย)

เทพ  Inw
นอน  uou
เกรียน  เกรีeu
แทงแรงแรง  IInJIISJIISJ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น