วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คำสันสกฤต

คำสันสกฤต มีลักษณะดังนี้

1.ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

2.ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี)

3.ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎเหมือนภาษาบาลี เช่น

บาลีใช้ สัจจ (ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม)
สันสกฤตใช้ สัตย (พยัณชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม)

4.คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์

5.คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ

6.คำว่า "เคราะห์" มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น

7.ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่งในภาษาไทย จึงมาจากภาษาสันสกฤต

เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
1.มีสระ 8 ตัว 1.มีสระ 14 ตัว (เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา)
2.มีพยัญชนะ 33 ตัว มีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ)
3.มีตัวสะกดตัวตามตามกฎ 3.มีตัวสะกดตัวตามไม่ตามกฎ
4.ไม่นิยมตัวควบกล้ำ 4.นิยมตัวควบกล้ำ
5.ใช้ ฬ 5.ใช้ ฑ
6.มีคำว่า "เคราะห์"
7.มี รฺ (ร เรผะ) ซึ่งเปลี่ยนเป็น รร ในภาษาไทย

ข้อสังเกต คำบางคำใช้ ศ ษ แต่เป็นคำไทยแท้ เช่น ศอ ศอก ศึก เศิก ดาษ ดาษดา ฯลฯ

ตัวอย่างคำภาษาบาลี

กิจ ทัณฑ์ ยาน มัชฌิม พิมพ์ ขัณฑ์ ขันธ์ ขัตติยา บุญ นิพพาน วิชา วุฒิ สามัญ อัคคี สัญญาณ
มัจฉา มเหสี อุตุ อักขร อัชฌาศัย ขณะ ปัจจุบัน อิตถี อัตถุ อัจฉรา ภริยา อิทธิ ปกติ วิตถาร
ปัญญา กัญญา กัป

ตัวอย่างภาษาสันสกฤต

กษัตริย์ อัศวะ ขรรค์ คฤหัสถ์ บริบูรณ์ อธิษฐาน สวรรค์ ศึกษา วิทยุ นิตย์ ทฤษฎี ปราโมทย์
ไอศวรรย์ จักร อาศัย ปราศรัย วิเศษ มรรค มัธยม สถาปนา ปรัชญา อมฤต สถาน จักษุ รัศมี
ภรรยา บุษบา กัลป์ ราษฎร บุญย ศรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น