วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม



พิพิธภัณฑ์เมือง  



ศูนย์รวมเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน  จังหวัดมหาสารคาม  เริ่มดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2543 ในสมัยที่นางสิริเลิศ  เมฆไพบูลย์  ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม และนายสุรจิตร ยนต์ตระกูล เป็นนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม  ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนกระจายการผลิตและการจ้างงานไปสู่ภูมิภาค 8,434,000บาท (อาคารและสิ่งก่อสร้าง) และเทศบาลเมืองมหาสารคามได้จัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ สิ่งก่อสร้างและเทศบาลเมืองมหาสารคามได้จัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2546เพื่อการออกแบบและจัดแสดงนิทรรศการภายในจำนวน ภายในจำนวน 2,000,000 บาท ภายในสวนสาธารณะหนองข่ามีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ อันมีแมกไม้บวกกับสระน้ำหนองข่าที่ร่มรื่นย์  ด้านหน้ายังมีอนุสาวรีย์ท้าวมหาชัยวีระบุรุษอันดับหนึ่งของชาวมหาสารคาม  พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ด้านหน้ายังมีอนุสาวรีย์ท้าวมหาชัยวีระบุรุษอันดับหนึ่งของชาวมหาสารคาม พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันอาทิตย์
ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2547
      การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามเน้นการเล่าเรื่องวิถีชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามโดยมีแก่นของเรื่อง(Theme)  ซึ่งเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์แห่งวิถีชีวิตชาวเทศบาลเมืองมหาสารคาม คือ "เมืองซ้อนชนบท"  สามารถแบ่งมิติทางประวัติสาสตร์ในการนำเสนอเป็น ยุค ดังนี้
        -  ยุคก่อนตั้งเมืองมหาสารคาม
        -  ยุคเจ้าเมืองท้องถิ่น
        -  ยุคปกครองโดยข้านราชการ
        -  ยุคขยายตัวทางการศึกษา
        -  ยุคเศรษฐกิจฟองสบู่
      นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์แล้ว เทศบาลเมืองมหาสารคามยังได้วางแผนการจัดกิจกรรม  เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เมือง
มหาสารคามเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น
        -  การจัดกิจกรรมร่วมกับสถานศึกษาเพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการศึกษาท้องถิ่น
         -  การจัดนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมตามฤดูกาล  
  -  การพัฒนารูปแบบการจัดแสดงในนิทรรศการทั้งในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่  นิทรรศการที่โต้ตอบกับผู้ชม
   -  การจัดทำคลังพิพิธภัณฑ์และศูนย์เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมข้อมูลและวัตถุที่สามารถสืบค้นเรื่องราวของชาวมหาสารคาม
  -  การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ เช่น อาสาสมัครนำชม  การสาธิต  การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
        -  ศูนย์จำหน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน
        -  ยุคก่อนตั้งเมืองมหาสารคาม
        -  ยุคเจ้าเมืองท้องถิ่น
        -  ยุคปกครองโดยข้านราชการ
        -  ยุคขยายตัวทางการศึกษา
        -  ยุคเศรษฐกิจฟองสบู่
     
       นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์แล้ว เทศบาลเมืองมหาสารคามยังได้วางแผนการจัดกิจกรรม  เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เมือง
มหาสารคามเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น
   -  การจัดกิจกรรมร่วมกับสถานศึกษาเพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการศึกษาท้องถิ่น
        -  การจัดนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมตามฤดูกาล  
  -การพัฒนารูปแบบการจัดแสดงในนิทรรศการทั้งในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่  นิทรรศการที่โต้ตอบกับผู้ชม
    -  การจัดทำคลังพิพิธภัณฑ์และศูนย์เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่รวบรวมข้อมูลและวัตถุที่สามารถสืบค้นเรื่องราวของชาวมหาสารคาม
       -  การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ เช่น อาสาสมัครนำชม  การสาธิต  การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
        -  ศูนย์จำหน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555


มาตราตัวสะกด

         ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว

 มาตราแม่ กก

        แม่กก คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ก" เป็นตัวสะกด เช่น
กระจก อ่านว่า กระ - จก พรรค อ่านว่า พัก
มัฆวาน อ่านว่า มัก - คะ - วาน สุนัข อ่านว่า สุ - นัก

 มาตราแม่ กน

        แม่กน คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "น" เป็นตัวสะกด เช่น
บานชื่น อ่านว่า บาน - ชื่น บริเวณ อ่านว่า บอ - ริ - เวน
ปัญญา อ่านว่า ปัน - ยา จราจร อ่านว่า จะ - รา - จอน
เทศบาล อ่านว่า เทด - สะ - บาน พระกาฬ อ่านว่า พระ - กาน

 มาตราแม่ กบ

        แม่กบ คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "บ" เป็นตัวสะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ ภาพ อ่านว่า พาบ
กราฟ อ่านว่า กร๊าบ มณฑป อ่านว่า มน - ดบ
ลาบ อ่านว่า ลาบ อาภัพ อ่านว่า อา – พับ

 มาตราแม่ กด

        แม่กด คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ด" เป็นตัวสะกด เช่น
เสร็จ อ่านว่า เส็ด สมเพช อ่านว่า สม - เพด
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด จราจร อ่านว่า จะ - รา - จอน
ประเสริฐ อ่านว่า ประ - เสิด ทายาท อ่านว่า ทา - ยาด

เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่

1. แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด
2. แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ
3. แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส
4. แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ
5. แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
6. แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง
7. แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม
8. แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย
9. แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- มาตราตัวสะกดไม่ตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กก ,2. แม่ กด ,3. แม่ กบ , 4. แม่ กน
- มาตราตัวสะกดตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กง 2. แม่กม ,3. แม่ เกย ,4. แม่ เกอว
สรุป เสียงพยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง