วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้ดีๆรู้ไว้ไม่เสียหาย

       
           atinno.blogspot.com
         เป็นบล็อกที่รวบรวมผลงานทั้งหมดที่จัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา
ทั้งขั้นตอนการสร้างe-book,การฝากไฟล์ mediafire.com 
         เป็นบล็อกที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆมากมายล้วนแล้วแต่เป็นความรู้ทั้งสิ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและผู้ที่สนใจ อย่าลืมเข้ามาเยี่ยมชมกันนะคะ

นิทาน ชายชรากับเจ้าตูบ


นิทานเรื่องชาวนากับเจ้าตูบ
แต่งโดย นางสาวนันท์นลิน ชูเลิศ
รหัสนักศึกษา 533410010314
สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
จำนวน 9 หน้า





                                    1


2

3

4

5

6

7

8

9


สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ คลิ๊กที่นี่



การเขียนจดหมายราชการ

การเขียนจดหมายราชการ 
กลุ่มสาระ:
 01_ภาษาไทย
ระดับชั้น: มัธยมศึกษาปีที่ 2
        จดหมายราชการ หรือหนังสือภายนอก เป็นหนังสือที่ติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือระหว่างส่วนราชการกับหน่วยงานเอกชน หรือบุคคลภายนอก เป็นการติดต่อที่เป็นพิธี จะใช้กระดาษครุฑในการเขียน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. ที่  มีไว้เพื่อใช้อ้างอิง เก็บเรื่อง และแสดงปริมาณหนังสือ
๒. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการและที่ตั้ง
๓. วัน เดือน ปี
๔. เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุด
๕. คำขึ้นต้น ให้จ่าหน้าถึงตำแหน่งของผู้รับ / ชื่อบุคคล โดยทั่วไปมักใช้คำว่า “เรียน”
๖. อ้างถึง (ถ้ามี) ใช้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกัน (เฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว) โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และเลขที่หนังสือ วันที่ของหนังสือ
๗. สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี) ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือ
๘. ข้อความ ประกอบด้วยสองส่วน คือ เหตุที่มีหนังสือไป และจุดประสงค์ของเรื่อง
๙. คำลงท้าย ให้ใช้คำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือราชการ
๑๐. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ
๑๑. ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ
๑๒. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ
๑๓. โทร. ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง และหมายเลขติดต่อภายใน (ถ้ามี)
๑๔. สำเนาส่ง (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาไปให้ส่วนราชการหรือบุคคลอื่นทราบ และประสงค์ให้ผู้รับหนังสือทราบวาได้มีสำเนาส่งไปให้ผู้ใดแล้ว

หมายเหตุ
- ชั้นความลับ รู้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ชั้นความเร็ว หมายถึง ด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด
ตัวอย่างจดหมายราชการ

ที่ ศธ 0520.104/ 1254
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร                       
ถนนหน้าพระลาน  กรุงเทพฯ  10200

                                                                   6  กรกฎาคม   2552

เรื่อง   ขอความอนุเคราะห์บุคลากรเป็นวิทยากร

เรียน  ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต

         ด้วยคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ กรมศิลปากร จัดโครงการเสวนาสรรสาระวัฒนธรรม (ปีที่ ๙) ทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ – สิงหาคม ๒๕๕๒ โดยในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ นี้ จัดบรรยายในวันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ในหัวข้อ “ย้อนเส้นทางสายไหมทางทะเล: ทุ่งตึกเมืองท่าการค้านานาชาติ” เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ หอประชุมกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการนี้ คณะโบราณคดี ใคร่ขอความอนุเคราะห์ให้ ร้อยเอกบุณยฤทธิ์  ฉายสุวรรณ เป็นวิทยากรในการบรรยายเรื่อง “ย้อนเส้นทางสายไหมทางทะเล: ทุ่งตึกเมืองท่าการค้านานาชาติ” ในวันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ หอประชุมกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

         จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง

                                                                   ขอแสดงความนับถือ

       
                                                          (รองศาสตราจารย์ชนัญ   วงษ์วิภาค)
                                                               รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
                                                      ปฏิบัติราชการแทนคณบดีคณะโบราณคดี



สำนักงานเลขานุการคณะโบราณคดี
โทรศัพท์. ๐-๒๒๒๔-๗๖๘๔
โทรสาร.   ๐-๒๒๒๖-๕๓๕๕



คำสันสกฤต

คำสันสกฤต มีลักษณะดังนี้

1.ภาษาสันสกฤตมีสระ 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา

2.ภาษาสันสกฤตมีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ จากภาษาบาลี)

3.ภาษาสันสกฤตมีตัวสะกดตัวตาม แต่ไม่มีกฎเหมือนภาษาบาลี เช่น

บาลีใช้ สัจจ (ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม)
สันสกฤตใช้ สัตย (พยัณชนะวรรคสะกด เศษวรรคตาม)

4.คำในภาษาสันสกฤตนิยมคำควบกล้ำ เช่น พัสตร์ จันทร์

5.คำบางคำในภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ

6.คำว่า "เคราะห์" มีในภาษาสันสกฤตเท่านั้น

7.ภาษาสันสกฤตมีตัว รฺ (ร เรผะ) ซึ่งไทยนำมาใช้เป็น รร ฉะนั้นคำที่มี รร ส่วนหนึ่งในภาษาไทย จึงมาจากภาษาสันสกฤต

เปรียบเทียบภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
1.มีสระ 8 ตัว 1.มีสระ 14 ตัว (เพิ่ม ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦา)
2.มีพยัญชนะ 33 ตัว มีพยัญชนะ 35 ตัว (เพิ่ม ศ ษ)
3.มีตัวสะกดตัวตามตามกฎ 3.มีตัวสะกดตัวตามไม่ตามกฎ
4.ไม่นิยมตัวควบกล้ำ 4.นิยมตัวควบกล้ำ
5.ใช้ ฬ 5.ใช้ ฑ
6.มีคำว่า "เคราะห์"
7.มี รฺ (ร เรผะ) ซึ่งเปลี่ยนเป็น รร ในภาษาไทย

ข้อสังเกต คำบางคำใช้ ศ ษ แต่เป็นคำไทยแท้ เช่น ศอ ศอก ศึก เศิก ดาษ ดาษดา ฯลฯ

ตัวอย่างคำภาษาบาลี

กิจ ทัณฑ์ ยาน มัชฌิม พิมพ์ ขัณฑ์ ขันธ์ ขัตติยา บุญ นิพพาน วิชา วุฒิ สามัญ อัคคี สัญญาณ
มัจฉา มเหสี อุตุ อักขร อัชฌาศัย ขณะ ปัจจุบัน อิตถี อัตถุ อัจฉรา ภริยา อิทธิ ปกติ วิตถาร
ปัญญา กัญญา กัป

ตัวอย่างภาษาสันสกฤต

กษัตริย์ อัศวะ ขรรค์ คฤหัสถ์ บริบูรณ์ อธิษฐาน สวรรค์ ศึกษา วิทยุ นิตย์ ทฤษฎี ปราโมทย์
ไอศวรรย์ จักร อาศัย ปราศรัย วิเศษ มรรค มัธยม สถาปนา ปรัชญา อมฤต สถาน จักษุ รัศมี
ภรรยา บุษบา กัลป์ ราษฎร บุญย ศรี

การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณกรรม


 
การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณกรรม

๑. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ ด้วยว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์
ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

๒. แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (๒๕๔๕ : ๑๒๘) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้
๒.๑ ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ
๒.๒ ลักษณะคำประพันธ์
๒.๓ เรื่องย่อ
๒.๔ เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ สำนวนในเรื่องท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดสร้างสรรค์ ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น
๒.๕ แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก
๒.๖ คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น ๕ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น ซึ่งผู้วิเคราะห์ต้องไปแยกหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะ ของหนังสือที่จะวิเคราะห์นั้น ๆ ตามความเหมาะสม

๓. การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม
ความหมายของการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาองค์ประกอบทุกส่วน โดยวิธีแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ตั้งแต่ถ้อยคำสำนวน การใช้คำ ใช้ประโยค ตลอดจนเนื้อเรื่องและแนวคิด ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ในข้อเขียนนั้น เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบได้แล้ว จึงวิจารณ์ต่อไป
การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้นให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่า
น่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และมีความรอบคอบด้วย
การวิจารณ์งานประพันธ์ หมายถึง การพิจารณากลวิธีต่าง ๆ ทุกอย่างที่ปรากฏในงานเขียน ซึ่งผู้เขียนแสดงออกมาอย่างมีชั้นเชิง โดยผู้วิจารณ์จะต้องแสดงเหตุผลที่จะชมเชย หรือชี้ข้อบกพร่องใด ๆ ลงไป

วิธีวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์
ตามปกติแล้วเมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จำเป็นต้องเริ่มวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจนเสียก่อนแล้วจึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุผล ให้น่าคิด น่าฟังและ
เป็นคำวิจารณ์ที่น่าเชื่อถือได้
การวิจารณ์งานประพันธ์สำหรับผู้เรียนที่เริ่มต้นฝึกหัดใหม่ ๆ นั้น อาจต้องใช้เวลาฝึกหัด มากสักหน่อย อ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นมาก ๆ และบ่อย ๆ จะช่วยได้มากทีเดียว เมื่อตัวเราเริ่มฝึกวิจารณ์งานเขียนใด ๆ อาจจะวิเคราะห์ไม่ดี มีเหตุผลน้อยเกินไป คนอื่นเขาไม่เห็นด้วย เราก็ควรย้อนกลับมาอ่านเขียนนั้น ๆ อีกครั้งแล้วพิจารณาเพิ่มเติม วิธีวิเคราะห์ วิจารณ์งานประพันธ์จึงมีลักษณะดังนี้

แผนภูมินี้แสดงขั้นตอนการวิเคราะห์และวิจารณ์ โดยเริ่มต้นที่ผู้อ่านไปอ่านงานวรรณกรรม เมื่ออ่านแล้วจึงวิเคราะห์แยกแยะดูองค์ประกอบต่าง ๆ ลำดับต่อไปนี้จึงวิจารณ์กลวิธีการ
นำเสนอ ว่าน่าสนใจหรือไม่เพียงใด แล้วผู้วิจารณ์จึงเรียบเรียงความคิดเห็นแสดงออกมาด้วยวิธีพูด หรือเขียนวิจารณ์อย่างมีเหตุผล ลูกศรด้านใต้ที่ย้อนกลับมาสู่ผู้อ่านอีกนั้นหมายความว่า แม้นว่า การวิจารณ์จะสิ้นสุดแล้ว แต่ผู้อ่านก็ยังย้อนกลับมาสนใจงานประพันธ์ชิ้นเดิม แล้วเริ่มต้นวิเคราะห์วิจารณ์ใหม่ได้อีกตลอดเวลา

ประเด็นที่ใช้ในการวิเคราะห์และวิจารณ์คุณค่าของงานวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และวิจารณ์งานประพันธ์เท่าที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป นักวิจารณ์นิยมพิจารณากว้าง ๆ ๔ ประเด็น
๑) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้
เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน
๒) คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอทั้ง ๒ ประเด็นนี้ จะอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ โดยจะกล่าวควบกันไปทั้งการวิเคราะห์และการวิจารณ์
๓) คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย
๔) การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

๓.๑ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์
วรรณศิลป์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งช่วยส่งเสริมให้วรรณกรรมมีคุณค่าน่าสนใจ คำว่า “วรรณศิลป์” หมายถึง ลักษณะดีเด่นทางด้านวิธีแต่ง การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ลีลา
ประโยค และความเรียงต่าง ๆ ที่ประณีต งดงาม หรือมีรสชาติเหมาะสมกับเนื้อเรื่องเป็นอย่างดี วรรณกรรมที่ใช้วรรณศิลป์ชั้นสูงนั้นจะทำให้คนอ่านได้รับผลในทางอารมณ์ความรู้สึก
เช่น เกิดความสดชื่น เบิกบาน ขบขัน เพลิดเพลิน ขบคิด เศร้าโศก ปลุกใจ หรืออารมณ์อะไร ก็ตามที่ผู้เขียนต้องการสร้างให้เกิดขึ้นในตัวผู้อ่าน นั่นคือ วรรณศิลป์ในงานเขียน ทำให้ผู้อ่าน เกิดความรู้สึกในจิตใจและเกิดจินตนาการสร้างภาพคิดในสมองได้ดี
การวิเคราะห์งานประพันธ์จึงควรพิจารณาวรรณศิลป์เป็นอันดับแรกแล้วจึงวิจารณ์ว่ามีคุณค่าหรือน่าสนใจเพียงใดหากงานประพันธ์นั้นเป็นประเภทบทร้อยกรอง ผู้อ่านที่จะ
วิเคราะห์วิจารณ์ ควรมีความรู้บางอย่าง เช่น รู้บังคับการแต่งบทร้อยกรองรู้วิธีใช้ภาษาของกวี รู้วิธีสร้างภาพฝันหรือความคิดของกวี เป็นต้น ความรู้ดังกล่าวนี้จะช่วยให้เข้าใจบทร้อยกรอง
ได้มากขึ้น

รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม

การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ
1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ
1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date)
ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
(ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)
1.2 ระบบหมายเลข (Number System) เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง

บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่


ลำดับ ประเภทบรรณานุกรม
1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ
3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์




1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย

แบบ ก
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
/ / / / / / /ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ
/ / / / / / / ในการพิมพ์.

ตัวอย่าง
แบบ ก
กิตติกร มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,
2544.
แบบ ข
กิติกร มีทรัพย์. (2544). จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
ธุรกิจการพิมพ์.

2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
แบบ ก
ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
/ / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์.
/ / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.

ตัวอย่าง
แบบ ก
Hartley, Eric Key. Childhood and society. 2 nd ed. New York : Mc Graw -
Hill, 1989.
แบบ ข
Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill.

3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /
/ / / / / / / ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /
/ / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง
แบบ ก
ภัคพร กอบพึ่งตน. การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.

แบบ ข
ภัคพร กอบพึ่งตน. (2540). การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
/ / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
แบบ ข
ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / /
/ / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
ตัวอย่าง
แบบ ก
สมจิต หนุเจริญกุล และ ประคอง อินทรสมบัติ. "การประเมินผลการพยาบาล" ใน
เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.
หน้า 749 - 781. มยุรา กาญจนางกูร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
แบบ ข
สมจิต หนุเจริญกุล และ ประคอง อินทรสมบัติ. (2536). การประเมินผลการพยาบาลใน
ใน มยุรา กาญจนางกูร (บรรณาธิการ). เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ
กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8 - 15. (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
/ / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /
/ / / / / / /เลขหน้า.

ตัวอย่าง
แบบ ก
วิทยาคม ยาพิศาล. "การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม
แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ" กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์. 46(3) : 142 - 153 : กรกฎาคม - กันยายน 2547.
แบบ ข
วิทยาคม ยาพิศาล. (2547,กรกฏาคม - กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา-
ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณ
ภาพ. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 - 153.
6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
แบบ ก
ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :
/ / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ
/ / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
ตัวอย่าง
แบบ ก
วิทยา นาควัชระ. "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย. 40(2047) :
191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544.
แบบ ข
วิทยา นาควัชระ. (2544, 26 ตุลาคม). คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว.
สกุลไทย. 40(2047), 191 - 192.
7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
แบบ ก
ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
/ / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
แบบ ข
ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
/ / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
ตัวอย่าง
แบบ ก
นิติภูมิ เนาวรัตน์. "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ. 5 มิถุนาน 2546.
หน้า 2.
แบบ ข
นิติภูมิ เนาวรัตน์. (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ,
หน้า 2.
8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
แบบ ก
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
/ / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
แบบ ข
ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /
/ / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.
ตัวอย่าง
แบบ ก
สายหยุด นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.
[เทปโทรทัศน์]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
แบบ ข
สายหยุด นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยางการพยาบาลคลินิก.
[เทปโทรทัศน์]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

9.1 ฐานข้อมูล ซีดี - รอม


แบบ ก
ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /
/ / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
แบบ ข
ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
/ / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ.
ตัวอย่าง
แบบ ก
นพรัตน์ เพชรพงษ์. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
[ซีดี - รอม]. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, 2545. สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.
แบบ ข
นพรัตน์ เพชรพงษ์. (2545). จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
[ซีดี - รอม]. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการ
พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล
วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547.
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์
แบบ ก
ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /
เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
แบบ ข
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /
(วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
ตัวอย่าง
แบบ ก
พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http :
/ / www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
เรวัติ ยศสุข. "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย." ฉลาดซื้อ. [ออนไลน์]. 6(6) ;
กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546. เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot. ?article_id
= 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)
แบบ ก
พิมลพรรณ พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : / /
/ / www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
เรวัติ ยศสุข. (2546,กุมภาพันธ์ - มีนาคม). "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย." ฉลาดซื้อ.
[ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot.
? article_id = 16. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547).

ตัวอย่างคำนำ


คำนำคืออะไร
คำนำ คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง ส่วนแรกของรายงานมักจะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน (ถ้ามี) ส่วนที่สองคือให้ลงท้ายด้วยชื่อผู้จัดทำรายงาน หากมีหลายคนให้ลงว่าคณะผู้จัดทำ และลงวันที่กำกับเป็นส่วนสุดท้าย

การเขียนตัวอย่างคํานํา
  • เขียนตัวอย่างคํานําด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
  • เขียนตัวอย่างคํานําโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง
  • เขียนตัวอย่างคํานําโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
  • เขียนตัวอย่างคํานําด้วยการเล่าเรื่อง
  • เขียนตัวอย่างคํานําด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
  • เขียนตัวอย่างคํานําด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
  • เขียนตัวอย่างคํานําด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
  • เขียนตัวอย่างคํานําด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
ดังนั้น ตัวอย่างคํานําที่ดีต้องเป็นความคิดใหม่ ความคิดแปลก หรือความคิดสนุก ต้องมีลักษณะนำ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่านเรื่องของเราให้จบให้ได้ คำนำจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นอ่านเรื่องและดึงดูดใจให้อ่านเรื่องไปตลอด 
ตัวอย่างคํานํา รายงาน
ตัวอย่างคํานํา ส่วนที่หนึ่ง
รายงานเรื่อง ……………………………..นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา…………………………มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับ…………………………….. ซึ่งรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ……………………….
ตัวอย่างคํานํา ส่วนที่สอง
การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ……………………….. เล่มนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าเป็น…………………….. ศึกษาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาทิ ตำรา หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ (ค้นคว้าจากที่ไหนให้เขียนเข้าไป)
ตัวอย่างคํานํา ส่วนที่สาม
การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ……..ที่ท่านได้ให้คำแนะนำการเขียนรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านแผนปฏิบัติศึกษาการทำรายงาน การเรียบเรียงเนื้อหา การเขียนบรรณานุกรมได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้าพเจ้าหวังว่า เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งใดในรายงานฉบับนี้จะต้องปรับปรุง ข้าพเจ้าขอน้อมรับในข้อชี้แนะและจะนำไปแก้ไขหรือพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป
ชื่อผู้เขียนตัวอย่างรายงาน
วันที่